วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน

การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน

    แนวคิด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พัฒนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้พสกนิกรชาวไทยได้เข้าถึงทางสายกลางของชีวิตและเพื่อคงไว้ซึ่งทฤษฏีของการพัฒนาที่ยั่งยืน ทฤษฎีนี้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตซึ่งอยู่ระหว่าง สังคมระดับท้องถิ่นและตลอดระดับสากล จุดเด่นของแนวปรัชญานี้คือ แนวทางที่สมดุล โดยชาติสามารถทันสมัย และก้าวสู่ความเป็นสากลได้ โดยปราศจากการต่อต้านกระแสโลกาภิวัฒน์ และการอยู่รวมกันของทุกคนในสังคม

         คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” นั้นหากแปลเป็นอังกฤษจะได้ว่า Sufficiency Economy ซึ่งเป็นพระราชดำรัสที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยไว้เมื่อประมาณ 25 ปีมาแล้ว อาจเรียกว่า เป็นทฤษฏีใหม่ก็ได้เพราะว่าเกิดจากแนวดำริที่พระองค์เป็นคนคิดค้นขึ้นมา เหตุที่เรียกว่า ทฤษฏีใหม่ก็เพราะว่า คำว่า“เศรษฐกิจพอเพียง”นั้น ไม่มีบัญญัติไว้ในพจนานุกรมมาก่อน พระองค์ทรงคิดขึ้นมาด้วยพระองค์เอง นับได้ว่าเป็นความอัจริยะภาพของพระองค์อย่างยิ่ง ทำให้เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก ในฐานะ“กษัตริย์นักปฏิรูป” หากจะกล่าวถึงคำว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั้น เราอาจจะคิดว่ามันเป็นเรื่องไกลตัวเป็นเรื่องของเศรษฐกิจน้อย ใหญ่ เป็นเรื่องเชย เป็นเรื่องของชาวนา ชาวสวน แต่ผู้เขียนก็พึ่งจะเข้าใจนี่เองว่า เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้สอนให้เราจน หรือว่า สอนให้เรามีเท่าไหร่ก็พอแค่นั้น ไม่หามาเพิ่ม ไม่ขวนขวายอีก อั้นนั้นก็ไม่ใช่สิ่งที่ต้องการ ปรัชญานี้สอนให้เรา เดินอยู่บนความพอดี อย่างเช่น ถ้าหากว่าเราเป็นคนจนมากๆ อยู่มาวันหนึ่ง มีคนพาเราไปกินอาหารภัตตาคารที่แพงที่สุดในโลก ได้กินอาหารรสเลิศ ..ถ้าเราเห็นแก่กินเกินไป คือ มีเท่าไหร่ก็กินให้หมด เอาให้คุ้ม พอกินไปกินมาลืมไปว่า กระเพาะเราก็มีความจุจำกัดเหมือนกัน กินซะจนกระเพาะแตกและตายในที่สุด …แต่หากว่า เราไม่โลภ รู้จักความพอดี เราก็จะกินแต่เพียงว่าอร่อย พออิ่มท้อง พอใจในอัตภาพที่กำลังเป็นอยู่ เราก็จะมีความสุขได้ ต่อมาก็ตรากตรำทำงานหาเงินเก็บ เอาไปลงทุนในทางที่สุจริต ซักวันเราก็รวยได้เหมือนกัน ..แต่ถ้าวันนั้นเรากินจนท้องแตกตายเสียก่อน เราก็ไม่มีโอกาสที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ ไม่มีโอกาสที่จะยกระดับครอบครัวอีกแล้ว

  คำนิยามของเศรษฐกิจพอเพียง ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อมกัน คือ
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป
                                         โดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการ
                                         ผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความ
                                                  พอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมี
                                                  เหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุ
                                                  ปัจจัย ที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผล
                                                  ที่คาดว่าจะ เกิดขึ้นจากการกระทำ
                                                  นั้น ๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ
                                                 และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะ
                                                 เกิดขึ้นได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่
                                                 คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และ
                                                 ไกล

 การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน    

               การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันของนางสาว เกสร  จุติลาภถาวร  คือการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ไม่ใช้จ่ายในเรื่องที่เห็นว่าไม่จำเป็น  มีการจัดสรรค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน  แบ่งเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน รวมถึงนำเงินที่เหลือที่ได้จากค่าขนมและค่าใช้จ่ายในแต่ละวันมาออมไว้ทำให้ข้าพเจ้าไม่ต้องรบกวนเงินของบิดามารดา  อีกประการหนึ่งข้าพเจ้าจะใช้สิ่งของทุกชิ้นอย่างรู้คุณค่า โดยมีการคิดคำนวณก่อนที่จะซื้อของสิ่งๆหนึ่งว่าสิ่งของนั้นๆสามารถใช้ได้นานแค่ไหน คุ้มหรือไม่?กับการซื้อในแต่ละครั้ง การกระทำนี้นอกจากจะได้ของใช้ที่มีประสิทธิภาพแล้วยังเป็นการประหยัดเงินและตรงตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชพ่อหลวงของเราอีกด้วย


เศรษฐกิจพอเพียงกับการประกอบอาชีพ

    สรุปเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึงปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า  25  ปี  ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ  พ.ศ. 2540  และภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น  และสามารถดำรงอยู่
ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

            เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่  และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับครอบครัว  ระดับชุมชน  จนถึงระดับรัฐ  ทั้งในการพัฒนาบริหารประเทศให้ดำเนินไป ในทางสายกลาง  โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวหน้าต่อยุคโลกาภิวัตน์ ทางสายกลาง  หมายถึง เส้นทางการดำเนินชีวิตของมนุษย์และสังคมที่ถูกต้องเหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นจริงตามกฎธรรมชาติที่มีอยู่เป็นอยู่  ทั้งที่ตัวมนุษย์  และรอบๆ  ตัวมนุษย์

หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง  พิจารณาได้ดังนี้

            คุณลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ  โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง  และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับธุรกิจ

            ธุรกิจพอเพียง หมายถึง  การดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความมั่นคงและยั่งยืนมากกว่าการแสวงหาผลประโยชน์ในระยะสั้น  ดังนั้น  จึงต้องมีความรอบรู้ในธุรกิจที่ตนดำเนินการอยู่  และศึกษาข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา  เพื่อให้สามารถก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ  มีความรอบคอบในการตัดสินใจในแต่ละครั้ง  เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดต่างๆ  ไม่ให้เกิดขึ้น  และต้องมีคุณธรรมคือมีความซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบอาชีพ  ไม่ผลิตหรือขายสินค้าที่ก่อให้เกิดโทษหรือสร้างปัญหาให้กับคนในสังคมและสิ่งแวดล้อม  มีความขยันหมั่นเพียร  อดทนในการพัฒนาธุรกิจไม่ให้มีความบกพร่อง  และก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง  โดยมีการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต  การปรับปรุงสินค้าและคุณภาพให้ทันกับความต้องการของผู้บริโภคและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีใหม่ๆ  และในขณะเดียวกันต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม  และระบบนิเวศวิทยาทุกขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจ  โดยการรักษาสมดุลในการแบ่งปันผลประโยชน์ของธุรกิจในระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ  อย่างสมเหตุสมผล  ตั้งแต่ผู้บริโภค  พนักงาน  บริษัทคู่ค้า  ผู้ถือหุ้น  และสังคมวงกว้างรวมถึงสิ่งแวดล้อม

การประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียง

            การดำเนินชีวิตในลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการประกอบอาชีพตามทรัพยากรที่มีอยู่โดยอาศัยความรู้  ความสามารถ  เพื่อให้เกิด   ความพอเพียงในลักษณะพออยู่พอกิน  ก่อให้เกิดความสุขสบายภายในครอบครัว  หากเหลือจากการดำรงชีพสามารถนำไปขาย  เพื่อเป็นรายได้และเก็บออมเป็นเงินทุนต่อไป  การประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียงสามารถทำได้ดังนี้
       ๑. ทำไร่ทำนาสวนผสมผสาน  เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นเศรษฐกิจพอเพียง
       ๒. ปลูกผักสวนครัว  เพื่อลดรายจ่ายด้านอาหารในครอบครัว
       ๓. ใช้ปุ๋ยคอก  และทำปุ๋ยหมักใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี  เพื่อลดรายจ่ายและช่วยปรับปรุงบำรุงดิน
       ๔. เพาะปลูกเห็ดฟางจากฟางข้าและเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นา
       ๕. ปลูกผลไม้ในสวนหลังบ้านและปลูกต้นไม้ใช้สอย
       ๖. ปลูกพืชสมุนไพรช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัย
       ๗. เลี้ยงปลาในร่องสวน  ในนาข้าวและสระน้ำ  เพื่อเป็นอาหารและรายได้เสริม
       ๘. เลี้ยงไก่พื้นเมืองและไก่ไข่  เพื่อเป็นอาหารโปรตีนและรายได้เสริมโดยใช้ข้าวเปลือกรำปลายข้าวจากการทำนา  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากการปลูกพืชไร่  พืชผักจากการปลูกในสวน
       ๙. ทำก๊าชชีวภาพจากมูลสุกร  หรือวัว  เพื่อใช้เป็นพลังงานในครัวเรือน
     ๑๐. ทำสารสกัดชีวภาพจากเศษพืชผักผลไม้  และพืชสมุนไพรที่ใช้ในไร่นา

Sufficiency Economy

เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)

 “เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็มแต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป” (พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากวารสารชัยพัฒนา)

          “เศรษฐกิจพอเพียงแปลว่า Sufficiency Economy  คำว่า Sufficiency Economy นี้ ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ. จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่ Sufficiency Economy นั้น ไม่มีในตำราเพราะหมายความว่าเรามีความคิดใหม่…และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่า เราก็สามารถที่จะไปปรับปรุง หรือไปใช้หลักการเพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศและของโลกพัฒนาดีขึ้น” (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒)

          เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดรวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง คำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ

          อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจที่หลากหลายและไม่ชัดเจน ถึงความหมายและหลักแนวคิดที่แท้จริงของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มุ่งเน้นความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา อันมีคุณลักษณะ ที่สำคัญ คือ สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ คำนิยามของความพอเพียงคือความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ภายใต้เงื่อนไขของการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม



ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 

          เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม

          ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี


หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง 

          การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการตัดสินใจ และการกระทำ

“ถ้าพอมีพอกิน คือพอมีพอกินของตัวเองนั้น
ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเศรษฐกิจสมัยหิน.
สมัยหินนั้นเป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน
แต่ว่าค่อยๆพัฒนาขึ้นมา ต้องมีการแลกเปลี่ยนกัน
มีการช่วยระหว่างหมู่บ้าน
หรือระหว่างจะเรียกว่าอำเภอ จังหวัด ประเทศ
จะต้องมีการแลกเปลี่ยน มีการไม่พอเพียง
จึงบอกว่าถ้ามีเศรษฐกิจพอเพียง
เพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็จะพอแล้ว จะใช้ได้.”
(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒)


หลักพิจารณาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

          ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ด้วยกัน ๕ ส่วน ดังนี้

          1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลาและเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีลักษณะพลวัตร มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนา อย่างเป็นขั้นตอน

          2. คำนิยาม ความพอเพียง (Sufficiency) จะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ พร้อมๆ กัน ดังนี้
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภค ที่อยู่ในระดับพอประมาณ

          3. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆอย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

          4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

          - เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ อย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

          - เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

          5. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือการพัฒนาที่สมดุลและสามารถพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง ในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และ ความรู้และเทคโนโลยี

          “ถ้าไม่มีเศรษฐกิจพอเพียงเวลาไฟดับ…
จะพังหมดจะทำอย่างไร. ที่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าก็ต้องแย่ไป.
          …หากมีเศรษฐกิจพอเพียงแบบไม่เต็มที่
ถ้าเรามีเครื่องปั่นไฟ ก็ใช้ปั่นไฟ
หรือถ้าขั้นโบราณกว่า มืดก็จุดเทียน
คือมีทางแก้ไขปัญหาเสมอ
          …ฉะนั้นเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ก็มีเป็นขั้นๆ
แต่จะบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้
ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์ นี่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้
จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน
พอเพียงในทฤษฎีในหลวงนี้ คือให้สามารถที่ดำเนินงานได้”
(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒)



   ปัญหาหลักของเกษตรกรในอดีต จนถึงปัจจุบันที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การขาดแคลนน้ำเพื่อ
เกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่เกษตรที่อาศัยน้ำฝน ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศที่อยู่
ในเขต ที่มีฝนค่อนข้างน้อยและส่วนมากเป็นนาข้าวและพืชไร่ เกษตรกรยังคงทำการเพาะปลูกได้ปีละครั้ง
ในช่วงฤดูฝนเท่านั้น และมีความเสี่ยงกับความเสียหายอันเนื่องมาจากความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศ
และฝนทิ้งช่วง แม้ว่าจะมีการขุดบ่อหรือสระเก็บน้ำไว้ใช้บ้างแต่ก็มีขนาดเพียงพอ หรือมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็น
ปัญหาให้มีน้ำใช้ไม่เพียงพอ รวมทั้งระบบการปลูกพืชไม่มีหลักเกณฑ์ใดๆ และส่วนใหญ่ปลูกพืชชนิดเดียว
ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระราชดำริ
เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบากดังกล่าว
ให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤติ โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำ ได้
โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก พระราชดำรินี้ ทรงเรียกว่า
"ทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหรือหลักการในการบริหารการจัดการที่ดิน
และน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด


ทฤษฎีใหม่ ทำไมใหม่
๑. มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็ก ออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจนเพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ซึ่ง
ไม่เคยมีใครคิดมาก่อน

๒. มีการคำนวณโดยหลักวิชาการ เกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้พอเพียงต่อการเพาะปลูกได้ตลอดปี

๓. มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบ สำหรับเกษตรกรรายย่อย โดยมีถึง ๓ ขั้นตอน

ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น

การจัดสรรพื้นที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน
ให้แบ่งพื้นที่ ออกเป็น ๔ ส่วน ตามอัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ ซึ่งหมายถึง
- พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง ประมาณ ๓๐% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการ
  ปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่างๆ

- พื้นที่ส่วนที่สอง ประมาณ ๓๐% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครอบครัวให้
  เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้

- พื้นที่ส่วนที่สาม ประมาณ ๓๐% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็น
  อาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย

- พื้นที่ส่วนที่สี่ ประมาณ ๑๐% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์และโรงเรือนอื่นๆ

หลักการและแนวทางสำคัญ

๑. เป็นระบบการผลิตแบบพอเพียง ที่เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ในระดับที่ประหยัดก่อน ทั้งนี้ชุมชน
ต้องมีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทำนองเดียวกับการ "ลงแขก" แบบดั้งเดิม
เพื่อลดค่าใช้จ่าย

๒. เนื่องจากข้าวเป็นปัจจัยหลักที่ทุกครัวเรือนจะต้องบริโภค ดังนั้นจึงประมาณว่าครอบครัวหนึ่งทำนา ๕
ไร่ จะทำให้มีข้าวพอกินตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เพื่อยึดหลักพึ่งตนเองได้อย่างมีอิสรภาพ

๓. ต้องมีน้ำเพื่อการเพาะปลูกสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วงได้อย่างพอเพียง ดังนั้น จึง
จำเป็นต้องกันที่ดินส่วนหนึ่งไว้ขุดสระน้ำโดยมีหลักว่าต้องมีน้ำเพียงพอที่จะทำการเพาะปลูกได้ตลอดปี
ทั้งนี้ได้พระราชทานพระราชดำริเป็นแนวทางว่า ต้องมีน้ำ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ต่อการเพาะปลูก ๑ ไร่
ฉะนั้น เมื่อทำนา ๕ ไร่ ทำพืชไร่หรือไม้ผลอีก ๕ ไร่ (รวมเป็น ๑๐ ไร่) จะต้องมีน้ำ ๑๐,๐๐๐
ลูกบาศก์เมตรต่อปี ดังนั้น หากมีพื้นที่ ๑๕ ไร่ จึงมีสูตรคร่าวๆ ว่า แต่ละแปลงประกอบด้วย

- นา ๕ ไร่
- พืชไร่พืชสวน ๕ ไร่
- สระน้ำ ๓ ไร่ ลึก ๔ เมตร จุประมาณ ๑๙,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นปริมาณน้ำที่เพียงพอที่จะสำรอง
  ไว้ใช้ยามฤดูแล้ง
- ที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ ๒ ไร่

รวมทั้งหมด ๑๕ ไร่

๔. การจัดแบ่งแปลงที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณและคำนึง
จากอัตราถือครองที่ดินถัวเฉลี่ยครัวเรือนละ ๑๕ ไร่ อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรมีพื้นที่ถือครองน้อยกว่า
หรือมากกว่านี้ ก็สามารถใช้อัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ ไปเป็นเกณฑ์ปรับใช้ได้ กล่าวคือ

- ๓๐% ส่วนแรก ขุดสระน้ำ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ฯลฯ ได้ด้วย)
- ๓๐% ส่วนที่สอง ทำนา
- ๓๐% ส่วนที่สาม ปลูกพืชไร่ พืชสวน (ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ไม้สร้างบ้าน พืชไร่ พืชผัก
  สมุนไพร เป็นต้น)
- ๑๐% สุดท้าย เป็นที่อยู่อาศัยและอื่นๆ (ถนน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน
  โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักสวนครัวหลังบ้าน เป็นต้น)

อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนดังกล่าวเป็นสูตรหรือหลักการโดยประมาณเท่านั้น สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
ได้ตามความเหมาะสมโดยขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ดิน ปริมาณน้ำฝนและสภาพแวดล้อม เช่น ในกรณี
ภาคใต้ที่มีฝนตกชุกกว่าภาคอื่น หรือหากพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำมาเติมสระได้ต่อเนื่อง ก็อาจลดขนาดของบ่อ
หรือสระน้ำให้เล็กลง เพื่อเก็บพื้นที่ไว้ใช้ประโยชน์อื่นต่อไปได้

ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า




  เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ลงมือปฏิบัติได้ลงมือปฏิบัติ
ตามขั้นที่หนึ่งในที่ดินของตนจนได้ผลแล้วฉะนั้น เกษตรกรก็จะ
พัฒนาตนเองไปสู่ขั้นพออยู่พอกินเพื่อให้มีผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงควรที่
จะต้องดำเนินการตามขั้นที่สอง และขั้นที่สาม ต่อไปตามลำดับ ดังนี้
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือ ให้
เกษตรกรรวมพลังกันในรูป กลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรง ร่วมใจกันดำเนินการในด้าน

๑. การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ)
- เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิตโดยเริ่มตั้งแต่ ขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การหาน้ำและอื่นๆ
เพื่อการเพาะปลูก

๒. การตลาด (ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่ายผลผลิต)
- เมื่อมีผลผลิตแล้ว จะต้องเตรียมการต่างๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียม
ลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิต
ให้ได้ราคาดี และลดค่าใช้จ่ายลงด้วย

๓. ความเป็นอยู่ (กะปิ น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ)
- ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น
อาหารการกินต่างๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง

๔. สวัสดิการ (สาธารณสุข เงินกู้)
- แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิภาพและบริการที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้
กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน

๕. การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศึกษา)
- ชุมชนควรมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของ
ชุมชนเอง

๖. สังคมและศาสนา
- ชุมชนควรเป็นที่รวมในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว

กิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าส่วนราชการ
องค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ

ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป
คือ ติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้านเอกชน มาช่วยใน
การลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต

ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารกับบริษัท จะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ

- เกษตรกรขายข้าวได้ในราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา)

- ธนาคารกับบริษัทสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง)

- เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์
ราคาขายส่ง)

- ธนาคารกับบริษัทจะสามารถกระจายบุคลากร (เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น)

ประโยชน์ของทฤษฎีใหม่



  จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทาน
ในโอกาสต่างๆ นั้น พอจะสรุปถึงประโยชน์ของทฤษฎีใหม่ได้ ดังนี้

๑. ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด
ไม่อดอยาก และเลี้ยงตนเองได้

๒. ในหน้าแล้งมีน้ำน้อยก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระ มาปลูกพืช


ผักต่างๆ ได้ แม้แต่ข้าวก็ยังปลูกได้ โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน

๓. ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปี ทฤษฎีใหม่นี้ก็สามารถสร้างรายได้ให้ร่ำรวยขึ้นได้

๔. ในกรณีที่เกิดอุทกภัยก็สามารถที่จะฟื้นตัว และช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการไม่ต้องช่วย
เหลือมากเกินไป อันเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย

ข้อสำคัญที่ควรพิจารณา


๑. การดำเนินการตามทฤษฎีใหม่นั้น มีปัจจัยประกอบหลายประการ
ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่น ฉะนั้นเกษตรกรควรขอรับ
คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ด้วย

๒. การขุดสระน้ำนั้น จะต้องสามารถเก็บกักน้ำไดเพราะสภาพดินใน
แต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน เช่น ดินร่วน ดินทราย ซึ่งเป็นดินที่ไม่
สามารถอุ้มน้ำได้ หรือเป็นดินเปรี้ยว ดินเค็ม ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับ

พืชที่ปลูกได้ ฉะนั้น จะต้องพิจารณาให้ดีและควรขอรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดิน หรือเจ้าหน้าที่
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน

๓. ขนาดของพื้นที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณและคำนึงจากอัตราการถือครองที่ดิน
ถัวเฉลี่ยครัวเรือนละ ๑๕ ไร่ แต่ให้พึงเข้าใจว่าอัตราส่วนเฉลี่ยขนาดพื้นที่นี้มิใช่หลักตายตัว หากพื้นที่การ
ถือครองของเกษตรกรจะมีน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ ก็สามารถนำอัตราส่วนนี้


๔. การปลูกพืชหลายชนิด เช่น ข้าวซึ่งเป็นพืชหลัก ไม้ผล พืชผัก
พืชไร่ และพืชสมุนไพร อีกทั้งยังมีการเลี้ยงปลาหรือสัตว์อื่นๆ ซึ่ง
เกษตรกรสามารถนำมาบริโภคได้ตลอดทั้งปี เป็นการลดค่าใช้จ่าย
ในส่วนของอาหารสำหรับครอบครัวได้ และส่วนที่เหลือสามารถ
จำหน่ายได้เป็นรายได้แก่ครอบครัวได้อีก


๕. ความร่วมมือร่วมใจของชุมชน จะเป็นกำลังสำคัญในการปฏิบัติ

ตามหลักทฤษฎีใหม่ เช่น การลงแรงช่วยเหลือกัน หรือที่เรียกว่าการลงแขก นอกจากจะทำให้เกิดความ
รักความสามัคคีในชุมชนแล้ว ยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานได้อีกด้วย

๖. ในระหว่างการขุดสระน้ำ จะมีดินที่ถูกขุดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก หน้าดินซึ่งเป็นดินดีควรนำไปกองไว้
ต่างหาก เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชต่างๆ ในภายหลัง โดยนำมาเกลี่ยคลุมดินชั้นล่างที่เป็นดิน
ไม่ดี ซึ่งอาจนำมาถมทำขอบสระน้ำหรือยกร่องสำหรับปลูกไม้ผล

เงื่อนไขหรือปัญหาในการดำเนินงาน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำรัสเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
ณ ศาลาดุสิดาลัย มีความตอนหนึ่ง ดังนี้

"...การทำทฤษฎีใหม่นี้มิใช่ของง่ายๆ แล้วแต่ที่ แล้วแต่โอกาสและแล้วแต่งบประมาณ เพราะว่าเดี๋ยวนี้
ประชาชนทราบถึงทฤษฎีใหม่นี้กว้างขวางและแต่ละคนก็อยากได้ ให้ทางราชการขุดสระแล้วช่วย แต่มัน
ไม่ใช่สิ่งง่ายนัก บางแห่งขุดแล้วไม่มีน้ำ แม้จะมีฝนน้ำก็อยู่ไม่ได้ เพราะว่ามันรั่ว หรือบางทีก็เป็นที่ที่รับน้ำ
ไม่ได้ ทฤษฎีใหม่นี้จึงต้องมีพื้นที่ที่เหมาะสมด้วย...ฉะนั้น การที่ปฏิบัติตามทฤษฎีใหม่หรืออีกนัยหนึ่ง
ปฏิบัติเพื่อหาน้ำให้แก่ราษฎร เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ง่าย ต้องช่วยกันทำ..."


พืชที่ควรปลูกและสัตว์ที่ควรเลี้ยง
ไม้ผลและผักยืนต้น
มะม่วง มะพร้าว มะขาม ขนุน ละมุด ส้ม กล้วย น้อยหน่า มะละกอ
กะท้อน แคบ้าน มะรุม สะเดา ขี้เหล็ก กระถิน เป็นต้น

ผักล้มลุกและดอกไม้
มันเทศ เผือก ถั่วฝักยาว มะเขือ มะลิ ดาวเรือง บานไม่รู้โรย รัก
กุหลาบ และซ่อนกลิ่น เป็นต้น

สมุนไพรและเครื่องเทศ
หมาก พลู พริกไทย บุก บัวบก มะเกลือ ชุมเห็ด หญ้าแฝก และพืชผักบางชนิด เช่น กระเพรา โหระพา
สะระแหน่ แมงลัก และตะไคร้ เป็นต้น

เห็ด
เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เห็ดเป๋าฮื้อ เป็นต้น

ไม้ใช้สอยและเชื้อเพลิง
ไผ่ มะพร้าว ตาล มะขามเทศ สะแก ทองหลาง จามจุรี กระถิน ยูคาลิบตัส สะเดา ขี้เหล็ก ประดู่ ชิงชัน
และและยางนา เป็นต้น

พืชไร่
ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ อ้อย มัน สำปะหลัง ละหุ่ง นุ่น เป็นต้น พืชไร่หลายชนิดอาจ
เก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตยังสดอยู่ และจำหน่ายเป็นพืชประเภทผักได้และมีราคาดีกว่าเก็บเมื่อแก่ พืชไร่เหล่านี้
ได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ อ้อย



จากภาพวงกลมเล็ก คือ สระน้ำที่เกษตรกรขุดขึ้นตามทฤษฎีใหม่ เมื่อเกิดช่วงขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
เกษตรกรสามารถสูบน้ำมาใช้ประโยชน์ได้ และหากน้ำในสระน้ำไม่เพียงพอก็ขอรับน้ำจากอ่างห้วยหินขาว
(อ่างเล็ก) ซึ่งได้ทำระบบส่งน้ำเชื่อมต่อลงมายังสระน้ำที่ได้ขุดไว้ในแต่ละแปลงซึ่งจะช่วยให้สามารถมีน้ำ
ใช้ตลอดปี

กรณีที่เกษตรกรใช้น้ำกันมาก อ่างห้วยหินขาว (อ่างเล็ก) ก็อาจมีปริมาณน้ำไม่พอเพียง หากโครงการ
พัฒนาลุ่มน้ำป่าสักหรือมีโครงการใหญ่ที่สมบูรณ์แล้ว ก็ใช้วิธีการผันน้ำจากป่าสัก คืออ่างใหญ่ ต่อลงมา
ยังอ่างเก็บน้ำห้วยหินขาว (อ่างเล็ก) ก็จะช่วยให้มีปริมาณน้ำใช้มากพอตลอดปีสำหรับสระของเกษตรกร